ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ayttaya เพื่อนๆ จะได้รับความรู้จากบล็อกนี้ไม่มากก้อน้อยนะครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยมชม

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ผลงานการ์ตูน COMIC





ผลงานการประดิษฐ์อักษรหัวเรื่อง





ความรู้เรื่อง สี

ความรู้เรื่องสี

โดยทั่วไปสีแบ่งออกเป็น 3 ชั้น
  1. สีพื้นฐาน (Primary Color) หรือแม่สี ได้แก่ แดง เหลือง น้ำเงิน
  2. สีขั้นที่สอง (Secondary Color) เกิดจากการจับคู่แม่สีผสมกันในอัตราส่วนเท่ากัน ได้สีใหม่ 3 สีคือ เขียว ส้ม ม่วง
  3. สีขั้นที่สาม (Tertiary Color) เกิดจากการจับคู่แม่สี ผสมกับสีขั้นที่สองที่อยู่ใกล้เคียงกัน ได้สีเพิ่มอีก 6 สี คือ เขียวเหลือง เขียวน้ำเงิน ม่วง น้ำเงิน ม่วงแดง ส้มแดง ส้มเหลือง
นอกจากนี้ยังมีสีขั้นที่สี่ ที่เกิดจากการผสมของแม่สีกับสีขั้นที่สามและสีขั้นที่สองที่อยู่ใกล้เคียงกัน ได้สีอีก 12 สี รวมทั้งสิ้น 24 สี และ เมื่อนำสีทั้งหมดไปผสมกับสีขาวหรือดำ จะเกิดเป็นสีที่น้ำหนักแตกต่างกันอีกสีละ 40 น้ำหนัก
โทนสี
โทนสีต่างกันให้อารมณ์ที่ต่างกันอย่างมากมาย เราแบ่งโทนสีออกเป็น 2 โทนกว้างๆ ดังนี้

สีโทนเย็น (Cool) คือกลุ่มสีที่ให้ความรู้สึกสงบเย็น นิ่ง ผ่อนคลาย อิสระ เสรี และดูสบายตา เช่น ขาวอมฟ้า เขียว ม่วง น้ำเงิน
สีโทนร้อนหรืออุ่น (Warm) ให้ความรู้สึกกระตือรือร้นสดใส สบาย รู้สึกกระฉับกระเฉง อบอุ่น ใกล้ชิด มีชีวิตชีวา เช่น ขาวอมเหลือง ส้ม แดง

ตัวอย่างของสีที่มีผลต่อความรู้สึก
สีดำ ทำให้ความรู้สึกเป็นเอกเทศ ดูทันสมัย เข้มแข็ง และช่วยหนุนให้สีอื่นๆดูเข้มขึ้น ถ้าจะนำสีดำมาใช้ในการตกแต่งภายใน ก็คงไม่ใช่สีดำล้วนเพราะจะทำให้ดูทึบ เศร้า ส่วนใหญ่นิผมใช้เป็นสีตัด เช่น ตู้สีดำบนผนังสีสด เป็นต้น
สีน้ำตาล เป็นสีจากธรรมชาติของเนื้อไม้ ดูสวยงามและอบอุ่น ใช้ได้กับทุกห้อง
สีน้ำเงิน เป็นสีที่ร่าเริงและสบายตา ให้ความรู้สึกโล่งกว้างและมีชีวิตชีวา เหมาะกับห้องน้ำ ห้องครัว หรือห้องรับแขก
สีเขียว ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ เป็นสัญลักษณ์ของชีวิต ต้นไม้ใบหญ้าให้ความผ่อนคลายทางสายตาและจิตใจ จึงเหมาะที่จะใช้ตกแต่งห้องนอน

โครงสี
โครงสี คือแบบร่างในการเลือกใช้สีซึ่งจะกำหนดเป็นสีผนัง พื้น เพดาน พรม และเฟอร์นิเจอร์ โดยทั่วไปนิยมใช้เพียง 3-4 สี จะกลมกลืนหรือตัดกันก็ตาม

ขั้นตอนการกำหนดโครงสี

  1. เลือกสีหลัก หมายถึงสีที่ใช้สำหรับพื้นที่ส่วนใหญ่ของห้อง เช่น ผนัง พื้น เพดาน โดยดูจากโทนสีทีเหมาะสม และจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สีนั้น เช่น ต้องการใช้สีอ่อนเพื่อลวงตาให้ดูว่าห้องกว้างขั้นหรือผนังสูงขึ้น เป็นต้น
  2. เลือกสีรอง หมายถึงสีที่เข้ากันได้กับสีหลัก จะเป็นสีกลมกลืนหรือตัดกันก็ได้ และไม่ควรใช้เกิน 2 สี โดยอาจใช้กับประตู หน้าต่าง เฟอร์นิเจอร์ชิ้นหลัก และผนังบางด้าน โดยทั่วไปจะใช้อัตราส่วนสีหลักต่อสีรองเป็นสามต่อสี่
  3. เลือกน้ำหนักของสีหรือความเข้มของสี ในสีเดียวกันเองอาจเลือกใช้น้ำหนักที่แตกต่าง เพื่อสร้างความรู้สึกอบอุ่นไม่จืดตา ยกตัวอย่าง ห้องที่มีสีหลักเป็นสีฟ้า มีสีรองเป็นสีเหลืองอาจเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์บุผ้าสีเหลืองเข้ม
  4. เลือกสีเน้น ได้แก่ สีของวัตถุตกแต่งขนาดเล็กในห้อง ส่วนใหญ่นิยมใช้สีสดใสที่แตกต่างจากสีหลักและสีรอง เพื่อเพิ่มความรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้นอีก เช่น สีชมพูของแจกัน สีแดงของหมอนอิง แต่ต้องระวังไม่ใช้ในปริมาณมากจนเกินงาม
สีตัด หมายถึงสีคู่ตรงข้ามในวงล้อสี เช่นสีแดงตรงข้ามกับสีเขียว สีน้ำเงินตรงข้างกันสีส้ม สีเหลืองตรงข้ามกับสีม่วง ตัวอย่างการใช้สีตัดเพื่อเพิ่มความสดใสให้ห้องเช่น ห้องนอนสีเหลืองอ่อน อาจใช้ม่านหน้าต่างสีน้ำเงินลายทางขาว และใช้ชุดเครื่องนอนสีแดงเข้ม เป็นต้น
โทนแสงกับโทนสี
การเลือกใช้โทนแสงไฟ ต้องดูให้เข้ากับโทนสีโดยรวมห้องด้วย เพราะทิศของแสงคือสิ่งที่จะช่วงสร้างบรรยากาศของห้องให้เป็นไปตามโทนสี การเลือกใช้โทนแสงผิด อาจทำลายโทนสีที่จัดมาอย่างดีได้อย่างน่าเสียดาย

ถ้าการตกแต่งโดยรวมเป็นสีโทนอุ่น การใช้แสงไฟโทนอุ่น จะช่วยเน้นให้ห้องดูสว่าง สดใส และดูกลมกลืนในขณะที่การใช้แสงไฟโทนเย็นจะทำให้โทนสีห้องดูจืดลง
ถ้าการตกแต่งโดยรวมเป็นสีโทนเย็น การใช้แสงไฟโทนเย็น จะเสริมให้ห้องน้ำดูนุ่มนวลสบายตา แต่ถ้าใช้โทนแสงอุ่นก็อาจจะมีผลให้สีโทนเย็นดูทึมทึบ

สี(colour)
วงจรสี (Colour Circle)
วงจรสี (Colour Circle)
   สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง   สีเหลือง  สีน้ำเงิน
   สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่ 
                   สีแดง ผสมกับสีเหลือง  ได้สีส้ม
                   สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีม่วง
                  สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีเขียว
   สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆอีก 6  สี คือ
                   สีแดง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มแดง
                   สีแดง ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงแดง
                   สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง
                   สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวน้ำเงิน
                   สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงน้ำเงิน
                   สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง
   วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็นในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สีซึ่งแบ่งที่สีม่วงกับสีเหลืองซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ
 

   สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่างรุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใสเท่าที่ควร การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้
     1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย
     2. ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี
     3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี
   สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีน้ำตาล กับ สีเทา
  สีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมีคุณสมบัติสำคัญ คือใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้นๆเข้มขึ้นโดยไม่เปลี่ยนแปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล  
  สีเทา เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ แล้วจะทำให้ มืดหม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนักอ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทา

ความรู้เรื่องเส้น

ภาพวาดระบายสี     ภาพจากประสบการณ์
     ภาพจากประสบการณ์ หมายถึง ภาพที่วาดจากการเรียนรู้ การสัมผัสถึงสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวเราในชีวิตประจำวัน ซึ่งภาพวาดจากประสบการณ์อาจแบ่งออกได้ ดังนี้
     1.  ภาพตัวเองและครอบครัว
          เป็นภาพเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัว เช่น พฤติกรรมของตนเอง กิจกรรมของคนในครอบครัว เรื่องราวของคนในครอบครัว เป็นต้น
     2.  ภาพเหตุการณ์ต่าง
          เป็นภาพเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งทำให้เกิดความประทับใจหรือเป็นภาพที่ติดตา เช่น เหตุการณ์น้ำท่วม การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เป็นต้น
     3.  ภาพเทศกาลต่าง ๆ
           เป็นภาพเกี่ยวกับงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันลอยกระทง วันสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ วันเข้าพรรษา วันครู วันแม่ วันพ่อ เป็นต้น
     หลักการวาดภาพจากประสบการณ์
     1)  กำหนดเรื่องราวที่จะวาด โดยกำหนดรายละเอียดของภาพว่า จะต้องวาดภาพอะไรบ้าง
     2)  ร่างภาพให้เห็นโครงภาพโดยรวมโดยใช้ดินสอร่างเป็นภาพลายเส้นเบา ๆ
     3)  ลงลายเส้นให้เห็นภาพชัดเจน โดยอาจใช้ปากกาหมึกซึมเขียน แล้วลบเส้นที่ไม่ต้องการออก
     4)  ระบายสีให้สวยงาม
   
     ภาพจากจินตนาการ
     ภาพจากจินตนาการ  หมายถึง ภาพที่วาดจากความคิด จินตนาการของผู้เขียน โดยภาพที่วาดนั้นอาจเป็นเรื่องเพ้อฝัน เรื่องที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหรือในอดีต เรื่องจากนิทาน เรื่องเหนือธรรมชาติ เช่น เทพเจ้า ภูตผีปีศาจ เป็นต้น ซึ่งส่วนมากเป็นภาพที่วาดอย่างอิสระ ไม่จำกัดขอบเขต
     หลักการวาดภาพจากจินตนาการ
     1)  กำหนดเรื่องราวที่จะวาดโดยคิดภาพที่จะวาดว่า ต้องวาดภาพอะไรบ้าง
     2)  ร่างภาพให้เห็นโครงภาพโดยรวม โดยใช้ดินสอร่างให้เป็นภาพแบบลายเส้นเบา ๆ
     3)  ลงลายเส้นให้เห็นภาพชัดเจน โดยอาจใช้ปากกาหมึกซึมเขียน แล้วลบแส้นที่ไม่ต้องการออก
     4)  ระบายสีและตกแต่งให้สวยงาม

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

เรียนรู้เว็บบล็อก(ชายเบ)

รายวิชา นวัตกรรมทางการศึกษา
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ สุจิตตรา  จันทร์ลอย
ชื่อ นายอัธยา เขาเลียง ป.บัณฑิต หมู่ 2  รุ้นที่ 13
ปีการศึกษา 2/2553  มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
ประวัติส่วนตัว
เกิด วันที่ 25 กันยายน 2530
ภูมิลำเนว 148/13-1 ต.เกาะพลับพลา  อ.เมือง  จ.ราชบุรี
การศึกษา  ป.บัณฑิต
ปัจจุบันทำงาน
ตำแหน่งการทำงาน
เบอร์โทร 0896133844
E- mail.    ayttaya@gmail.com

คนที่เหงาเท่า...กับฉัน